บริษัท สยามเอ็นจิเนีย ฟอรั่ม จำกัด

Blog Detail

ต่อเติมในที่แคบอย่างไรไม่ให้ทรุด

 

                   ปัจจุบัน มีเจ้าของบ้านหลายรายที่ต้องการต่อเติมบ้าน ในพื้นที่ทำงานที่ค่อนข้างคับแคบไม่สามารถนำเสาเข็มขนาดยาวๆเข้ามาทำงานในพื้นที่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ผู้รับเหมาหรือเจ้าของบ้านที่ไม่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม ใช้เสาเข็มสั้น ในการต่อเติมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือต้องการประหยัดงบประมาณ ปลายเสาเข็มอยู่แค่ชั้นดินอ่อน ไม่ถึงชั้นดินดาน เป็นเหตุให้เกิดการทรุดตัวของส่วนต่อเติมตามมา

                 ทางเลือกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยม ของการต่อเติมในพื้นที่แคบคือ การใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มชนิดนี้ สามารถตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ที่ต้องการต่อเติมป้องกันการทรุดตัวของฐานราก และกังวลเรื่องแรงสั่นสะเทือนได้ เพราะเสาเข็มชนิดนี้ ผลิตขึ้นมาเป็นท่อนสั้นๆ ท่อนละ 1.5 เมตร ต่อเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้า ตอกลงไปถึงชั้นดินดาน หรือจนกว่าจะเท่ากับความลึกของเสาเข็มตัวบ้าน สามารถลำเลียงเสาเข็มเข้าพื้นที่แคบๆได้ด้วยกำลังคน ตรงกลางเสาเข็มมีรูกลมกลวง (เกิดจากการผลิตโดยการปั่นด้วยความเร็วสูง เพื่อเพิ่มความหนาแน่น แข็งแรง ของเนื้อคอนกรีต)  และตัวปั้นจั่นที่ใช้ตอก ก็มีขนาดเล็ก ตุ้มตอกเพียง 1.2 – 2.3 ตัน แรงสั่นสะเทือนจึงน้อยมาก สามารถตอกห่างจากโครงสร้างได้ 50 cm. โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง

                     การเชื่อมต่อเสาเข็มโดยใช้ปลอก เคยนิยมใช้กันในอดีตเมื่อ 40-50 ปีก่อน เพราะยังมีข้อจำกัดของเทคโนโลยี ปัจจุบัน เมื่อจำเป็นต้องต่อเชื่อมเสาเข็ม จะนิยมใช้แบบหน้าแปลนต่อเชื่อม เพราะจะมีความแข็งแรงและสามารถส่งถ่ายแรงระหว่างท่อนต่อท่อนได้ดีกว่า ซึ่งวิธีนี้ จะใช้กันทั่วไปในเสาเข็มขนาดใหญ่ทุกประเภท เช่น เสาเข็มสปัน เสาเข็มรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมต่างๆ เป็นต้น